ความเป็นมาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งเขามหาชัย
ณ บริเวณเขามหาชัยและภูเขาหลักไก่ อันเป็นถิ่นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตามความเชื่อของประชาชนบริเวณเขามหาชัยและบริเวณใกล็เคียงตั้งแต่บ้านท่างิ้วจนถึงบ้านพรหมโลก เชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งเขามหาชัย ที่เล่าขานสืบต่อกันมาได้หลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง
เจ้าพ่อมหาชัยมีเรื่องเล่าขานว่าเจ้าพ่อมหาชัยนั้นเดิมเป็นขุนพลคู่บารมีของสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นหนึ่งในสิบสองทหารเสือพระเจ้าตากได้เดินทางตามสมเด็จพระองค์ท่านจากกรุงธนบุรีหลบหนีออกไปทางเมืองจันทบุรีแล้วเดินทางต่อมาที่นครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้าตาสินประทับที่วัดเขาขุนพนม อำเภอพรหมคีรีจนสิ้นพระชนม์ส่วนเจ้าพ่อมหาชัยนั้นท่านมาทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้เฝ้าต้นทาง ตอยส่งอาณัญญาณจากเขามหาชัยไปยังเขาขุนพนมเพื่อบอกเหตุร้ายเหตุดี เพื่อว่าทางโน้นจะได้เตรียมตัวทันภายหลังท่านถึงแก่กรรมด้วยไข้ป่าดวงวิญญาณก็ยังสิงสถิตอยู่ที่เขามหาชัย ณ บริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อเขามหาชัยปัจจุบันนี้
เจ้าพ่อมหาชัยมีบริวารซ้ายขวา คือ ท้าวศรีเทพ (อยู่ด้านซ้าย) และท้าวเทพอักษร (อยู่ด้านขวา) เจ้าพ่อมหาชัยถึงแก่กรรมก่อนสมเด็จพระเจ้าตากสินจะสิ้นพระชนม์ ตามแนวทางนี้ยังอธิบายเพิ่มเติ่มว่าเจ้าพ่อมหาชัยมีนามว่า “พญาชิงชัย” หรือ “พญาชิงชัยพล” ปรากฏตัวและเกี่ยวข้องกับเขามหาชัยสองชาติภพ ชาติภพหนึ่งคือ พญาชิงชัยหนึ่งในบริวารขององค์จตุคามรามเทพ ผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช (องค์เดียวกับเทพประจำหลักเมืองนครศรีธรรมราช) ในครั้งนั้นพญาชิงชัย พญาหลวงเมือง พญาสุขุม และพญาโหรา เป็นกำลังหลักให้กับองค์จตุคามรามเทพ ในการปราบพวกพราหมณ์ที่ปกครองเมืองตามพรลิงค์อยู่ก่อน เพื่อได้บ้านเมืองแล้วก็ได้สร้างพระบรมธาตุ สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตร พญาชิงชัย เมื่อสิ้นดวงวิญญาณมาสิงสถิต ณ เขามหาชัย อีกชาติภพหนึ่งของเจ้าพ่อมหาชัยก็คือ แม่ทับหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชดังที่กล่าวถึงข้างต้น
แนวทางที่สอง
ตาสำหรุด โดยเฉพาะจากปากของท่านเอียด (ดำ) ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านแถบนี้เคารพนับถือเป็นอย่างมากรูปหนึ่งว่ามีชีปะขาว ที่ชาวบ้านเรียกว่า ตาสำหรุด หรือ ตาโปชี (ตาปู่ชี) คนหนึ่งพร้อลูกศิษย์ชื่อ ไอ้ไบ้ หรือพ่อใบ้ มักจะปรากฏในฝันของชาวบ้านช่วงกำลังเคล้มหลับ ในลักษณะของการมาทักทายเยี่ยมเยียน โดยเฉพาะผู้ย้ายมาอยู่ใหม่ มีผู้เล่าว่าผู้อำนวยการวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชท่านหนึ่ง คือ อาจารย์ทวี ท่อแก้ว ก็เคย พบเห็นท่านมาเยียม เช่ยเดียวกับชาวบ้านพรหมโลกและชาวบ้านท่างิ้วหลานคน หลายครั้งเวลาที่มีปัญหาหรือมีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นหรือเพื่อความมั่นใจในการทำการใดๆ ก็มักจะขอให้ท่านช่วย ก็จะได้ตามที่ขอจริงๆ อดีตผู้อำนวยการยวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชอีกท่านหนึ่ง คือ อาจารย์ภานุ คุณโลกยะซึ่งป็นชาวพรหมโลก ได้เล่าให้ฟังว่าสมัยที่ท่านยังเรียนหนังสือชั้นมัธยมต้องเดินทางผ่านเขามหาชัยทุกครั้งที่ท่านเดินทางผ่านหน้าเขามหาชัยก็จะรำลึกถึงตาโปชี แห่งเขามหาชัยเพื่อขอพรให้เดินทางด้วยความปลอดภัยบ้าง เพื่อขอให้ได้หรือสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาบ้าง บางท่านอธิบายว่าตาโปชีหรือตาสำหรุดนั้น ท่านมีหน้าที่ประจำที่ควนเจดีย์บนเขามหาชัย
แนวทางที่สาม
พ่อปู่ฤาษีบางท่านเล่าว่าสิ่งศักสิทธิ์แห่งเขามหาชัยยังมีพ่อปู่ฤาษี สิงสถิตอยู่บนเขามหาชัยทำหน้าที่ปกปักรักษาให้ความคุ้มครองแก่ลูกหลานต้องการความช่วยเหลือก็สามารถบอกกล่าว ท่านก็จะให้ตามที่ขอ
การก่อสร้าง
ในช่วง พ.ศ.2519-2520 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาจารย์ภานุ คุณโลกยะ เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ได้ปรารภที่จะสร้างศาลเจ้าพ่อมหาชัย ที่บริเวณทางเข้าวิทยาลัยบริเวณประตู 2 บริเวณหน้าอาคาร 6 และหน้าหอสมุดเก่าแต่ตอนนั้นอาจารย์เกลิ่ม คงแสง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝายบริหารได้ตัดสินใจให้สร้างศาลที่บริเวณหลังอาคาร 6 บริเวณริมห้วย (หรือลำธารเขามหาชัยอันเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ส่งไปรวมในพิธีอภิเษกในราชธานี) ซึ่งก็คือสถานที่ตั้งศาลเจ้าพ่อในปัจจุบันนั่นเอง โดยสร้างอาคารทรงไทยประยุกต์เป็นตัวศาลเจ้าพ่อ มีอาจารย์อำนวย ชมพูวงศ์ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง มีการปั้นรูปเจ้าพ่อด้วยปูนโดยมีอาจารย์อดิเรก เกตุโรจน์ อาจารย์ภาควิชาศิสปะเป็นผู้ปั้น ทั้งนี้จิตนาการเป็นรูปเทวดาประทับนั่งห้อยท้าวขวา อันเป็นรูปสมมุติตามคติศิปกรรมไทย เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จอาจารย์เกลิ่ม คงแสง ได่เชิญเจ้าพิธีจากจังหวัดตรังมาประกอบพิธีอัญเชิญรูปปั้นประดิษฐานที่ศาล ทำพิธีบวงสรวง ในพิธีมีการเข้าทรงและพิธีการอื่นๆ ตามกระบวนการของคนเข้าทรงเจ้าแบบจีน มีการจุดประทัด มีการใช้มีดปาดลิ้นคนทรง เพื่อนำเลือดมาเขียนยันต์ลงกระดาษสีเหลืองแจกจ่ายเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าพิธี ผู้ที่เข้าร่วมพิธีในครั้งนั้นต่างก็มีความรู้สึกตรงกันว่าพิธีกรรมดูเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่น่าเชื่อถือศรัทธา
การสักการะ
นับตั้งแต่นั้นมาศาลเจ้าพ่อมหาชัยแห่งนี้จึงเป็นที่เชื่อถือศรัทธา เป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านหน้าเขามหาชัย และชาวบ้านวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชหรือสถาบันราชภัฏตลอดมา
นอกจากการสักการะที่บุคคากร นักศึกษา ประชาชนหน้าเขามหาชัยได้ปฏิบัติต่อเจ้าพ่อเขามหาชัยตามปกติแล้ว สถาบันได้จัดพิธีสักการะอย่างเป็นทางการในวันสถาปนาสถาบัน วันที่ 9 มกราคม ของทุกปี
เครื่องบวงสรวงที่ใช้ในพิธีสักการะอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย ไก่นึ่ง เป็ดนึ่ง กุ้งนึ่ง ปลานึ่ง อย่างละ 1 ตัว อาหารคาวหวาน 1 ชุด น้ำเปล่า 1 แก้ว เหล้าขาวหรือเหล้าแดง 1 ขวด บุหรี่ 1 ชอง มะพร้าวอ่อน 2 ลูก กล้วย 1 หวี สมโอหรือสมเขียวหวานพอประมาณ ขนมขาวขนมแดง 1 ชุด ธูป เทียน ดอกไม้ จำนวน 4 ช่อ
นอกจากนั้นในวันไหว้ครูของนักศึกษา ครูอาจารย์แต่ละท่านมักจะนำดอกไม้ที่นักศึกษาแต่ละคนนำมาไว้ครูไปไหว้เจ้าพ่อเพื่อความเป็นศิริมงคลเป็นประเพณีเสมอมาทุกปี
ความเชื่อถือ
เป็นที่ยอมรับกันว่าเจ้าพ่อมหาชัยนั้น ถ้าเรา “เซนดี พลีถูก” ท่านจะแสดงอภินิหารให้เป็นที่ปรากฏ นั่นคือ สิ่งที่ “ขอ” มักจะ “ได้” สมตามประสงค์ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและส่วนรวม เท่าที่จำได้ ในระยะหลังที่เพิ่งผ่านมาไม่นานนักเมื่อสถาบันมีงานสำคัญต่างๆ ก็มักจะบนบานต่อท่านส่วนใหญ่มักจะบนให้ไม่ให้ฝนตกจนเป็นอุปสรรคต่องาน เช่น งานรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารีในคราวเสด็จฯ มาทรงเปิดอาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 งานกีฬาราชภัฏทักษิณ เมื่อ พ.ศ. 2542 ซึ่งในงานก็ไม่มีฝนตกตลอดการแข่งขัน เมื่อประกอบพิธีปิดเสร็จฝนก็เทลงมาอย่างหนัก และล่าสุดพิธีเปิดงานชุมนุมครูวิทนยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งทื่ 11 (วทร.11) อันเป็นงานระดัยชาติ พิธีเปิดเมื่อเย็นวันที่ 23 มีนาคม 2544 ที่บริเวณหน้าอาคาร 16 ซึ่งขณะนั้นบริเวณพื้นที่ข้างเคียง เช่น พรหมคีรี ลานสกา สี่แยกเบจมฝนตกหนักมาก แต่บริเวณสถาบันมีฝนโปรยเพียงเล็กน้อยชั่วครู่แล้วก็หยุดจนกระทั่ง สามารถประกอบพิธีเปิดอันน่าประทับใจผ่านไปด้วยดี
เจ้าพ่อมหาชัย ไม่ว่าจะหมายถึงพญาชิงชัยก็ดี หรือพ่อปู่ฤาษีก็ดี อยู่ในระบบความเชื่อของชาวบ้านชาวมหาชัยและผู้ที่มาอาศัยร่มเงาของเขามหาชัย ตั้งแต่ยุคโรงเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ มาถึงยุคมหาวิทยาลัย วันข้างหน้าแม้ว่าสถานภาพของมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไรความเคารพเชื่อถือศรัทธาในเจ้าพ่อมหาชัยก็ยังคงอยู่ตลอดไป
การบูรณะ
นายสุนทร เนาว์รุ่งโรจน์ เจ้าของและผู้จัดการห้างห้นส่วนจำกัดณัฐซีแพคซึ่งเป็นผู้รับจ้างการก่อสร้างอาคารหลายหลังในมหาวิทยาลัย (เช่น อาคารกิจการนักศึกษา อาคาร 18 อาคาร 20 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และหอพระพุทธรูปประจำสถาบัน) มีความศรัทธาต่อเจ้าพ่อมหาชัย เห็นว่าศ่าลเจ้าพ่อมหาชัยได้ชำรุดทรุดโทรมป็นบางส่วน จึงได้ขออนุญาติต่อทางมหาวิทยาลัยเพื่อบรูรณะตัวศาลเจ้าพ่อมหาชัยให้ดูเรียบร้อยสวยงาม ด้วยการทาสีตัวศาล ปปูหินอ่อน ซ่อมแซมอละเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา ปักรั้วโดยรอบตัวศาล เป็รต้น ดำเนินการบูรณะแล้วเสร็จ และทำบุญฉลองเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2546
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 สถาบันได้ดำเนินการปรับปรุงศาลเจ้าพ่อมหาชัยใหม่ โดยใช้โครงสร้างอาคารเดิมเปลี่ยนทรงหลังคาเป็นแบบปั้นหยา ปรับให้ภายในตัวศาลมีบริเวณกว้างขว้างขึ้น และตกแตกบริเวณโดยรอบ โดยนาบสุเมธ รุจิวณิชย์กุล สถาปนิกอิสระเป็นผู้ออกแบบ หจก. เดโชการช่างเป็นผู้ก่อสร้าง ใช้งบประมาณ 400, 000 บาท จากเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2547