ข้อมูลวิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรม

ความเป็นมา

                วิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรม เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยโดยมุ่งศึกษาค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา บูรณาการ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช พ.ศ.2548
                 ที่ตั้ง ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขามหาชัย ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หมู่ที่ 4 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตก ประมาณ 13 กิโลเมตร
                 พ.ศ.2519 ได้จัดนิทรรศการเรื่องชีวิตไทยปักษ์ใต้ และได้จัดตั้ง “หน่วยประเคราะห์ศูนย์ชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย”
                 พ.ศ.2522 ได้จัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้” ที่อาคารเรียน 9
                 พ.ศ.2524 ได้ชื่อใหม่เป็น “ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
                 และในปีเดียวกันนี้กรมการฝึกหัดครูได้จัดตั้งหน่วยงานทำหน้าที่ทำนุบำรุงงานศิลปวัฒนธรรมขึ้นในวิทยาลัยครูทั่วประเทศเรียกว่า “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม” ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 ได้เปลี่ยนเป็น “สำนักศิลปวัฒนธรรม ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น ศูนย์วัตนธรรม ในปี พ.ศ. 2548
                 วิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานใหม่ที่พัฒนามาจากศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนวิชาการและเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ตั้งขึ้นตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 อย่างไรก็ตามหน่วยงานแห่งนี้มีพัฒนาการมาตามลำดับ กล่าวคือ พ.ศ.2514 หมวดวิชาภาษาไทย รวบรวมศิลปวัตถุและเครื่องใช้ของชาวบ้านในนครศรีธรรมราช จัดแสดงที่ห้องสมุดภาษาไทย ที่อาคารเรียน 4 ชั้น 3 ปีพ.ศ.2519 จัดนิทรรศการ “วิถีชีวิตไทยปักษ์ใต้” ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ปีพ.ศ.2520 จัดตั้ง “หน่วยประชาสงเคราะห์ศูนย์ชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช” ปี พ.ศ.2522 จัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช” ที่อาคารเรียน 9 ชั้น 2 และชั้น 3 ปีพ.ศ.2524 จัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช” ปีพ.ศ. 2538 จัดตั้ง “สำนักศิลปวัฒนธรรม” เป็นหน่วยงานสนับสนุนวิชาการและแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 

                 ปี พ.ศ.2561 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีเป้าประสงค์จะพัฒนาหน่วยงานดังกล่าวให้มีศักยภาพ มีความพร้อม ในทุกด้าน อีกเป็นการสนองตอบต่อระบบการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะจะมีหน่วยงานทางด้านการศึกษาวิจัยทางศิลปะและวัฒนธรรมอันจะเป็นข้อมูลชุมชนที่สำคัญที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นที่รู้จักของบุคคลโดยทั่วไป จึงอนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

การก่อสร้าง 
                หลังจากนั้นไม่นานนัก วิทยาลัยครูนครศรีได้เสนอโครงการก่อสร้างอาคารถาวรของศูนย์วัฒนธรรมตามแนวทางข้างต้นไปยังกรมการฝึกหัดครูเมื่อพ.ศ. 2530 ในที่สุดวิทยาลัยก็ได้รับคำยืนยันจากกรมเจ้าสังกัดว่า จะจัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างอาคารในวงเงิน 6,000,000 (หกล้านบาท) ขอให้วิทยาลัยเตรียมรายละเอียดขอบแบบรูปและรายการชั้นต้นเพื่อเป็นข้อมูลแก่กองพัฒนาอาคารสถานที่ กรมฝึกหัดครูซึ่งจะเป็นผู้ออกแบบอาคารดังกล่าวให้
                 ครั้งถึงวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2531 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้นได้มาเป็นประธานวางศิลปฤกษ์อาคารหลังนี้ ท่ามกลางความปลาบปลื้มของอาจารย์ คนงาน นักศึกษา ประชาชนจำนวนมาก
                 ในที่สุดกรมการฝึกหัดครูก็ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 16,000,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์วัฒนธรรม โดยผูกพัน 4 ปี คือ 2532 จำนวน 300,000 บาท ปี 2533 จำนวน 4,000,000 บาท ปี 2534 จำนวน 9,448,000 บาท และปี 2535 จำนวน 2,252,000 บาท กองพัฒนาอาคารสถานที่กรมการฝึกหัดครู โดยนายจุฬา พรรชนะแพทย์ ผู้อำนวยการกอง ได้ดำเนินการจัดทำแบบรูปและรายการก่อสร้างอย่างเต็มความสามารถ โดยมีนายสุกวี ชัยบุตร เป็นสถาปนิก นายนิวัต นิภานันท์ เป็นวิศกร นายคำนวณ วาสนา เป็นสุข เป็นผู้เขียนแบบ และควบคุมงานก่อสร้างห้องหุ้นส่วนจำกัดหาดใหญ่ประมวลกิจ เป็นผู้ก่อสร้าง โดยมีนายวินัย เพชรช่วย และนายวินิจ วรรณถนอม นายดำรง ศรีใส นายอำพล ศิริพันธ์ นายมงคล ทองขาว นายเทียนชัย เหวรารักษ์ และนายฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ เป็นกรรมการตรวจการจ้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2533 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2536
                 ในปีงบประมาณ 2536 สำหนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดสรรงบประมาณประมาณจำนวน 9,982,500 บาท เพื่อจัดทำนิทรรศการถาวร นิทรรศการกลางแจ้ง ห้องประชุมและสื่อวัฒนธรรม ซึ่งได้ทำแล้วเสร็จ และพร้อมจะประกอบพิธีอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 ตุลาคม พุทธศักราช 2537 ตรงกับวันพุธแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ปีจอ สัปตศก สมเด็จพระเทพรัตนสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทางเปิดอาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ศูนย์และสถาบันแห่งนี้สืบไปชั่วนิรันดร์การ