ด้านการแสดงและดนตรี

หนังตะลุง

หนังตะลุง หมายถึง คณะมหรสพที่นำตัวหนังซึ่งตัดและแกะจากหนังสัตว์ มาเป็นรูปตัวละครต่างๆตามท้องเรื่องที่จะแสดงมาเชิดบนจอด้านใน โดยใช้แสงสว่างให้เกิดเงาบนจอหนัง หนังตะลุงอีกชนิดหนึ่งคือหนังประโมทัย ในภาคอีสานนั้น ได้รับแบบอย่างมาจากหนังตะลุงภาคใต้ โดยนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ที่มีประวัติมาอย่างช้านานและเป็นที่ นิยมอย่างแพร่หลายและสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

โนรา

โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนรา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม โนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่งฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย

ลิเกป่า

ลิเกป่า อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น “ลิเกรำมะนา” หรือ “ลิเกบก” หรือ “แขกแดง” คำว่า “แขกแดง” ชาวภาคใต้หมายถึงแขกอาหรับ ถ้าใช้คำว่า “เทศ” จะหมายถึงคนอินเดีย เช่น เทศบังกาหลี(จากเบงกอล) เทศคุรา เทศขี้หนู (อินเดียใต้) ถ้าใช้คำว่า “แขก” หมายถึง แขกมลายและแขกชวา
          มีผู้กล่าวว่า ลิเกป่าได้แบบอย่างมาจากการร้องเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าของแขกเจ้าเซ็นที่เรียกว่า “ดิเกร์” ซึ่งเป็นภาษาเปอร์เซีย เพราะพวกเจ้าเซ็นมีเสียงไพเราะ เป็นที่นิยมฟังกันทั่วไป ต่อมา มีคนไทยหัดร้องเพลงดิเกร์ขึ้น ตอนแรกมีทำนองการใช้ถ้อยคำเหมือนกับเพลงสวด ต่อมาก็กลายเป็นแบบไทยและคำว่าดิเกร์ก็เปลี่ยนมาเป็นลิเกหรือยี่เก อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากเครื่องดนตรี รำมะนาที่ลิเกป่าใช้น่าจะได้แบบมาจากมลายู เพราะมลายูมีกลองชนิดหนึ่งเรียกว่า “ระบานา” ซึ่งมีสำเนียงคล้ายกับรำมมะนาของไทย ดังกล่าวแล้ว ลิเกป่าคณะหนึ่งๆ จะมีประมาณ ๒๐-๒๕ คน รวมทั้งลูกคู่ด้วย ตัวละครสำคัญๆ ก็มี แขกแดง ยาหยี เสนาและเจ้าเมือง ส่วนที่เหลือเป็นตัวประกอบ