ฐานข้อมูลด้านยารักษาโรค

นครศรีธรรมราชมีความเจริญมานานนับพันปีได้มีการสั่งสมสรระวิทยาการมาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในด้านการรักษาโรคมีตำราเกี่ยวกับการให้ยาประกอบสมุนไพรเพื่อป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บจำนวนมาก เรียกว่า ยากลางบ้าน เป็นยาแผนโบราณที่หมอกลางบ้านหรือหมอพื้นบ้าน ใช้บำบัดโรค บำรุงร่างกาย โดยอาศัยความรู้จากการที่ได้เรียนรู้สืบต่อกันมา๒.๑ ยากลางบ้านที่มาของยากลางบ้านตัวยากลางบ้านมีที่มา ๓ แห่ง คือ 

๑. พืชวัตถุ ได้แก่ พรรณไม้ หญ้า เครือเถา อาจเป็นส่วนของเกสร ดอก ผล เมล็ด เปลือก กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ เนื้อไม้ หรือส่วนที่เป็นกลิ่นรส๒. สัตว์วัตถุ ได้แก่ อวัยวะของสัตว์ หรือที่เกิดจากสัตว์ เช่น ขน หนัง เขา นอ งา เขี้ยว ฟัน กราม กับ กระดูก ดี เนื้อ ตัว น้ำนม น้ำผึ้ง ขี้ เป็นต้น๓. ธาตุวัตถุ ได้แก่ แร่ต่าง ๆ เช่น การบูร ดินประสิว กำมะถัน จุนสี เป็นต้น ประเภทของยากลางบ้านยากลางบ้านแบ่งเป็นประเภทตามกรรมวิธี และวิธีนำไปใช้ที่ต่างกันได้ ดังนี้

๑. ยาลูกกลอน คือ ยาที่บด หรือตำเป็นผงผสมด้วยน้ำเชื่อม หรือน้ำผึ้งแล้วปั้นคลึงเป็นก้อนสำหรับกลืนกิน
๒. ยาผง คือ ยาที่บอ หรือตำละเอียดใช้ละลายน้ำกระสายกิน ทา ป้าย โรย นัด
๓. ยาต้ม คือ ยา ที่นำเครื่องยามาตัดเป็นท่อน หรือเป็นชิ้น ใส่ภาชนะต้ม โดยมากจะต้มในภาชนะดินเผา หรือปีบ ใส่น้ำให้ท่วมตัวยา ต้มเคี่ยวตามต้องการ มักอุ่นให้ร้อนก่อนกิน
๔. ยาดอง คือ ยาที่ใช้เครื่องยาแช่ด้วยน้ำข่าหรือสุรา รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำกิน
๕. ยาตั้ง คือ ยาที่ทำเป็นแท่ง ใช้วางทาบตรงปากบาดแผล เพื่อใช้ดูดพิษร้าย
๖. ยาเหน็บ คือ ยาที่ทำเป็นก้อนหรือเป็นแท่ง ใช้เหน็บรักษาแผลในช่องทวาร มักใช้ในการรักษาโรคริดสีดวง เพื่อให้ยุบหรือหดตัว
๗. ยาอม คือ ยาที่ทำเป็นเม็ด เมื่ออมแล้วจะค่อยละลาย มักเป็นยามีรสหวาน
๘. ยาชง คือ ยาที่ต้องชงด้วยน้ำร้อน โดยมากใช้ดื่มเพื่อบำรุง
๙. ยาทา ยาน้ำหรือยาผงที่ใช้ทาภายนอก
๑๐. ยาดม คือ ยาที่มีกลิ่นระเหย อาจใช้ผ้าห่อหรือปล่อยให้ระเหยแล้วดมกลิ่น
๑๑. ยารม คือ ยาที่ต้องเผาไฟให้เกิดควันแล้วใช้ไอรม
๑๒. ยาอาบ คือ ยาที่ใช้น้ำอาบ
๑๓. ยาแช่ คือ ยาที่ผสมด้วยน้ำแล้วลงแช่
๑๔. ยาเป่า คือ ยาที่ผสมแล้วทำเป็นผงใช้กล่องเป่า
๑๕. ยามวน คือ ยาที่ทำเป็นมวนใช้สูบเอาควัน
๑๖. ยาบ้วน คือ ยาน้ำที่ใช้อมแล้วบ้วนทิ้ง
๑๗. ยาประคบ คือ ยาที่ทำเป็นลูกประคบ
๑๘. ยาน้ำส้ม คือ ยาที่สกัดในน้ำส้ม
๑๙. ยาน้ำกระสาย คือ ยาที่ผสมกับน้ำมันของหอม
๒๐. ยาสกัด คือ ยาที่ต้มกับพวกพฤกษชาติเอาน้ำเคี่ยว จนน้ำยางวดเป็นแท่ง
๒๑. ยาสุม คือ ยาที่ละลายด้วยน้ำชุบผ้าหรือสำลีให้ชุ่ม แล้วนำไปพอก หรือ ปิดทับไว้เพื่อให้เกิดความเย็น หรือเปียกชุ่ม
วิธีใช้ยากลางบ้าน

การใช้ยากลางบ้าน ผู้ใช้ยาจะต้องรู้จักลักษณะของยา รู้วิธีใช้ยา รู้คุณประโยชน์ในทางแก้โรค รู้สรรพคุณและรสยา รู้ฤทธิ์และปฏิกิริยาของยา รู้ขนาดที่ต้องใช้ให้เหมาะแก่วัย และอาการของผู้ป่วย รู้ขนาดที่ทำให้เกิดอันตรายถึงตายหมอกลางบ้าน มักใช้อุบายประกอบการใช้ยาด้วย โดยวิธีใช้เวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลทางด้านจิตวิทยาเป็นกำลังใจแก่ผู้ป่วย ให้รู้สึกว่ายานั้นมีความขลังตัวอย่างยาประจำบ้านจากพืช

๑. เคราแมว หรือ หญ้าคอกขาว หรือหญ้าควาญช้าง ใช้ทั้งต้นตำผสมสุรา คั้นน้ำดื่ม ส่วนกากใช้พอกปากแผล แก้พิษงูเห่า และงูกะปะ ใบตำกับปูนขาว ทาแก้โรคผิวหนัง ส่วนทั้งห้าผสมกับยาอื่นต้มกิน แก้โรคกระเพาะ 

๒. แห้วหมู หรือง้วนหมู นำเอาหัวมาตากแห้งบดผสมกับ เปลือกตะโกนา เปลือกระท่อม พริกไทย และดีปลี ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน กินแก้โรกระษัย เอาหัวผสมกับกระพังโหม ขมิ้น อ้อย หอมแดง ผลราชดัด ตรีกฏก ฯลฯ บดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งกินแก้โรคลม ป่วง ท้องร่วง อหิวาต์ ใช้หัวต้มกับใบมะกา ไพล เถาวัลย์เปรียง แสมสาร พริกไทย ยาดำ ขี้เหล็กทั้ง ๕ ตำฝอย ชุมเห็ดทั้ง ๕ เป็นต้น กินเป็นยาบำรุงเลือดหากอยู่ไฟไม่ได้ นอกจากนี้หัวแห้วหมูยังใช้ทุบเอาน้ำหวานผสมน้ำกิน เป็นยาบำรุงกำลังได้อีกด้วย 

๓. ชะพลู หรือ ช้าพลู ใช้ใบแกงกะทิกับกุ้ง ปลา และหอย มีคุณค่าทั้งทางอาหารและยา เป็นยาบำรุงธาตุ คุมเสมหะ ให้เป็นปกติ แก้ปวดท้อง จุกเสียด ใช้ผสมกับเปลือกหอยแครงที่เผาไฟ บดต้มกินแก้นิ่ว ผสมกับอาหารประเภทเนื้อหรือปลาที่ย่อยยากเพื่อช่วยให้ย่อยง่าย รากใช้ตำพอช้ำ ๆ ใช้จิ้มหรืออุดตามซอกฟันแก้ปวดฟัน หรือผสมแอลกอฮอล์ ใช้อุดซอกฟันแก้ปวดฟัน หรือแก้เหงือกปวดบวม ใบใช้เคี้ยวแล้วอมแก้เสมหะ

๔. ชะมวง หรือ ส้มมวง นิยมนำใบอ่อนมาใช้ต่างส้ม สำหรับทำอาหารประเภทต้มส้ม เช่น ต้มส้มปลาไหล ต้มปลาแห้ง ต้มเครื่องใน หรือกระดูกวัวหรือหมู นำผลและใบแก่มาหมักเป็นน้ำกรดสำหรับฟอกหนังวัว หนังควาย เพื่อใช้ในการแกะฉลุรูประบายสี ในทางสมุนไพรใช้ผสมยาอื่น ต้มกินขับเลือดเสีย ใช้ใบและผลกินเป็นยาราย กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ รากใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้

๕. เทียม หรือสะเดาใบใหญ่ หรือสะเดาช้าง นิยมใช้ใบอ่อนหรือดอกลวกแล้วจิ้มน้ำพริก ในทางสมุนไพรใช้เฉพาะก้านต้ม แก้ไข้ทับระดู ไข้จับสั่นและดีซ่าน เปลือกผสมยาอื่น เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง และเป็นยาสมานแผล ใบใช้ผสมยาอื่นเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ คุมธาตุ และช่วยให้เจริญอาหาร รากผสมกับไส้หมากเถาบอระเพ็ด ต้มกินเพื่อให้เจริญอาหาร๖. บวบ ผลบวบขมเผาบดเป็นผงผสมเหล้ากินแก้โรคริดสีดวงทวาร โรคบิด บดผสมน้ำทาแก้โรคคางทูมและแผลปวด คั้นเอาน้ำจากผลทาแผลเรื้อรัง ใช้เมล็ดคั่วบดผสมเหล้ากิน แก้ปวดสะเอว ขับนิ่ว ใช้รากแช่น้ำในภาชนะกระเบื้องกันน้ำที่แช่แก้เจ็บคอ ใช้รากเคี่ยวเอาน้ำล้างชะแผล ฝี หนอง ใบคั่วจนเป็นถ่านบดผสมเหล้าให้สตรีกินแก้ตกเลือด ดอกใช้ผสมน้ำผึ้งต้มกินแก้ไอ หอบ ของเด็กเนื่องจากเสมหะ รังบวบเผาบดเป็นผงกินแก้บิดถ่ายเป็นเลือด เมล็ดตำผสมน้ำกินให้อาเจียนเพื่อแก้พิษ หรืออาการผิดสำแดง ใช้ทุกส่วนต้มกินบำรุงโลหิตและดี
ยาแก้บิดมูกเลือด

เครื่องยา 

ใบเส้ง ( ขี้ครอก ) ๓ กำมือ 
น้ำปูนใส ๑ กระป๋องนมวิธีประกอบยา 
ขยำใบเส้งกับน้ำปูนใสจนออกน้ำเหนียว ๆ กรองเอาแต่น้ำวิ

วิธีใช้ 

ให้ผู้ป่วยกินให้หมดในครั้งเดียว

ยาแก้หิด

เครื่องยา 

ผลหันสุก 
น้ำมันมะพร้าววิธีประกอบยา 
เอาผลหันสุกตำให้ละเอียด ละลายด้วยน้ำมันมะพร้าว

วิธีใช้ 
นำน้ำไปทาบริเวณที่เป็นหิด ตัวหิดจะตาย และหิดจะหายไป

ยาแก้นิ่ว

เครื่องยา 

ต้มมะมุดทั้ง ๕ 
หน่อหญ้าคา ๓๐ กรัม
รากลำเจียก ๓๐ กรัม
รากมะละกอ ๓๐ กรัม
เหง้าสับปะรดเขียว ๓๐ กรัม
ใบไม้ไผ่ป่า ๓๐ กรัม
ดินประสิวดิบ ๑๕ กรัม
สารส้ม ๑๕ กรัม

วิธีประกอบยา 
ต้มด้วยน้ำด่าง แกลบ ข้าวเหนียว แล้วกรองเอาน้ำ 

วิธีใช้ 
กินแก้นิ่ว ขับนิ่วออกมา